• ไปยังแอป
  • เลือกจุดหมายปลายทาง
  • 10 กลลวงนักท่องเที่ยวที่ต้องระวัง! เมื่อไปเยือนยุโรป

    Klook Team
    Klook Team
    อัปเดตล่าสุด 14 มี.ค. 2020
    fullsizeoutput 2
    รวมกลลวง หลอกนักท่องเที่ยวในยุโรป
    วางแผนจะไปท่องเที่ยวยุโรปทั้งที ถ้ามัวแต่ห่วงหน้าพะวงหลังก็อาจจะพลอยทำให้หมดอารมณ์และไม่สนุกเท่าที่ควร แต่จะทำไงได้ เพราะอย่างที่ทราบกัน ว่ากลุ่มประเทศในยุโรปนั้น มีแหล่งมิจฉาชีพเยอะที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ฉะนั้นจะดีกว่าไหม? ถ้าหากคุณเตรียมวิธีการป้องกัน และวางแผนการท่องเที่ยวของคุณให้รัดกุม อย่าเปิดโอกาสให้เหล่ามิจฉาชีพที่มีอยู่มากมายและพร้อมที่จะฉกเอาทรัพย์สินมีค่าของคุณไปอย่างดื้อ ๆ ในขณะที่คุณไม่ทันได้ระวังตัว วันนี้เรามี 10 กลลวงที่คุณต้องระวังในการไปท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศยุโรปพร้อมวิธีการหลีกเลี่ยงมาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูเลย

    1.การโน้มน้าวชวนลงชื่อ ล่าลายเซ็นต์

    กลลวงยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายคนโดนมากันไม่ถ้วน นั้นก็คือ การถูกกลุ่มผู้คนจำนวน 2-5 คนมารุมและโน้มน้าวให้คุณบริจาคเงินเพื่อการกุศล หรือร่วมลงนามองค์กรต่าง ๆ แล้วบังคับให้คุณบริจาคเงิน และในระหว่างที่คุณกำลังงุนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็อาจจะเป็นช่องโหว่ที่ทำให้มีมือของผู้ไม่ประสงค์ดีมาแอบล้วงกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือรูดซิปและหยิบของมีค่าในกระเป๋าของคุณก็เป็นได้ 
    วิธีการป้องกัน: ถ้าหากคุณเห็นกลุ่มคนที่ถือแฟ้มเอกสาร หรือบอร์ดเอกสารพร้อมปากกาล่ะก็ เป็นไปได้ให้เดินเลี่ยงไปทางอื่น หรือเก็บของมีค่าไว้ใกล้ตัวที่สุดและปฏิเสธอย่างเด็ดขาด อย่าเปิดโอกาสให้กลุ่มคนพวกนี้ หรือคนที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ประกบหรือใกล้ชิดตัวคุณจะดีที่สุด 

    2. อย่าแลกเงินกับคนแปลกหน้า

    กลลวงนักท่องเที่ยวในยุโรป
    นักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนที่อาจจะประสบปัญหา เงินสดไม่พอ หาตู้กดเอทีเอ็มไม่เจอ หรือมีเงินสดสกุลอื่น ๆ ในมือแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเงินสดสกุลยุโรปที่ต้องการ ด้วยการหาร้านรับแลกเปลี่ยนเงินละก็ ก่อนการตัดสินใจแลกเงินสดทุกครั้ง คุณควรค้นหาข้อมูล หรือรีวิวของร้านรับแลกเงินนั้น ๆ ว่าเชื่อถือได้หรือไม่? หรือถ้าใครตัดสินใจแน่วแน่ และเจอกับร้านรับแลกเปลี่ยนเงินที่น่าเชื่อถือแล้ว คุณควรทำการเช็คจำนวนยอดเงินก่อนการแลกเงินให้แน่ใจและถูกต้องก่อนทุกครั้ง พร้อมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ว่ามีหรือไม่? มิฉะนั้นถ้าหากคุณโชคร้าย คุณอาจจะโดนร้านรับแลกเงินฉ้อโกง ปรับเปลี่ยนเรทแลกเงิน สลับบัตรธนบัตร หรือนำบัตรสกุลเงินต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้วมาแลกเปลี่ยนกับเงินของคุณก็เป็นได้ 
    ที่สำคัญ! หลีกเลี่ยงการแลกเงินกับคนแปลกหน้าที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ กับร้านรับแลกเปลี่ยนเงิน เพราะคนกลุ่มนี้ จะรีบดักคุณทันที เมื่อพวกเขาเห็นว่าคุณกำลังจะเดินเข้าไปยังร้านรับแลกเปลี่ยนเงิน และทำทีเป็นเสนอเรทเงินที่ดีกว่าการแลกเปลี่ยนที่ร้าน แต่จริง ๆ แล้ว พวกเขาอาจจะหักค่าคอมมิชชั่นเพิ่มไปอีก ซึ่งรวม ๆ แล้วอาจจะได้น้อยกว่าที่ไปแลกกับหน้าร้านอีกด้วย 
    วิธีการป้องกัน: กลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะพบได้บ่อยตามร้านแลกเงินในกรุงปราก ซึ่งพวกเขาจะทำการหลอกลวงนักท่องเที่ยวโดยการรับแลกเงินสกุลยูโรจากนักท่องเที่ยว เปลี่ยนกับเงินสกุล Belarusian Rubles ซึ่งจริง ๆ เงินสกุลที่สามารถใช้ภายในกรุงปรากได้ มีเพียงสกุลเดียว นั่นก็คือ เงินสกุล Czech crown หรือ โครูนาเช็ก ซึ่งมีตัวย่อ (CZK) นั่นเอง 

    3. แกล้งทำน้ำหกเลอะเสื้อผ้า

    ถ้าหากคุณเดินตามท้องถนนคนเดียว จะมีโอกาสสูงที่จะเจอกับเหตุการณ์นี้ โดยจะมีคนที่ตั้งใจสร้างสถานการณ์สาดน้ำใส่เสื้อผ้าของคุณให้ดูเหมือนเป็นอุบัติเหตุ หลังจากนั้นก็จะมีคนแปลกหน้า ทำที่ท่าว่าจะช่วยเหลือคุณ ยื่นทิชชู่หรือแม้แต่ผ้าพันคอให้  ซึ่งอาจจะเป็นคน ๆ เดียวกัน และในขณะที่คุณกำลังหงุดหงิด เพราะเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อนและอาจจะรับความหวังดีจากทิชชู่ของคนแปลกหน้านั้น ก็อาจจะเป็นช่วงที่หัวขโมยสบโอกาส แอบเผลอรูดซิปกระเป๋าหรือหยิบล้วงของมีค่าของคุณไปในเวลาเดียวกัน 
    ระวังล้วงกระเป๋าในยุโรป
    วิธีการป้องกัน: ถ้าหากคุณเจอเหตุการณ์ดังกล่าว ให้พยายามปฎิเสธความช่วยเหลืออย่างสุภาพและพยายามอย่าให้ใครประชิดตัวหรือเข้าใกล้คุณ หลังจากนั้นควรหาห้องน้ำสาธารณะใกล้ ๆ และทำความสะอาดรอยเลอะด้วยตัวของคุณเอง 

    4. หลีกเลี่ยงเชื่อมต่อสัญญาณไวไฟสาธารณะ

    ในขณะที่คุณกำลังค้นหาสัญญาณอินเตอร์เนต ไวไฟตามสถานที่สาธารณะ คุณอาจจะเจอสัญญาไวไฟฟรี หรือสัญญาณไวไฟที่ไม่ต้องใส่รหัสใด ๆ เพื่อทำการใช้งาน ซึ่งสัญญาณไวไฟฟรีดังกล่าว อาจจะมีความเสี่ยงต่อการใช้งานมากกว่าไวไฟที่ต้องทำการใส่รหัสผ่านเพราะไวไฟประเภทนี้ อาจจะเป็นไวไฟที่เหล่าแฮกเกอร์เปิดไว้ เพื่อรอให้นั่งท่องเที่ยวได้ใช้งานและขโมยข้อมูลต่าง ๆ ภายในสมาร์ทโฟน หรือแล็ปท็อปของคุณ
    จากผลสำรวจจะพบว่า เหล่าแฮกเกอร์มักจะเลือกปล่อยสัญญาณไวไฟดังกล่าวไว้ตามร้านอาหาร คาเฟ่ และอาจจะใช้ชื่อการเชื่อมต่อไวไฟ ให้ใกล้เคียงกับชื่อร้านอาหาร หรือชื่อของสถานที่นั้น ๆ เพื่อเป็นการหลอกล่อให้เหล่านักท่องเที่ยวหรือลูกค้าในร้านอาหารเข้าใจว่า เป็นสัญญาณไวไฟของร้านอาหารนั้น ๆ จริง ๆ 
    ให้ทุกการเชื่อมต่อปลอดภัยและไร้ขีดจำกัดด้วย 4G ซิมการ์ดสำหรับใช้ในยุโรป (รับที่ปารีส/สนามบินปารีส)
    วิธีการป้องกัน: ถ้าหากคุณมีความจำเป็นจะต้องใช้งานอินเตอร์เนตหรือสัญญาณไวไฟตามร้านอาหารหรือคาเฟ่ คุณควรสอบถามรหัสจากพนักงานโดยตรง และยืนยันความถูกต้องทุกครั้งก่อนการกดเชื่อมต่อ 

    5. หวังดีช่วยแนะนำการกดเอทีเอ็ม

    ในขณะที่คุณกำลังกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มสาธารณะ อาจจะมีคนพื้นที่หรือคนท้องถิ่นแถวนั้น ทำทีว่าจะแนะนำหรือช่วยบอกวิธีการกดเงินที่จะทำให้คุณไม่เสียค่าธรรมเนียมจากการกดเงิน แต่จริง ๆ แล้ว จุดประสงค์ของบุคคลดังกล่าว คือ ต้องการจะแอบสแกนบัตรของคุณกับเครื่องสแกนข้อมูลบัตรเอทีเอ็มขนาดเล็ก (Card Skimmer) และแอบจดจำเลขพินหรือรหัสกดเลขเอทีเอ็มของคุณ เพื่อทำการดูดเงินในบัญชีหรือถ่ายโอนเงินไปยังบัญชีอื่น ๆ ในภายหลัง
    วิธีการป้องกัน: หากมีความจำเป็นต้องกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม ควรเลือกตู้เอทีเอ็มที่คนไม่พลุกพล่าน หรือพยายามหลีกเลี่ยงการสนทนากับคนแปลกหน้าในขณะที่คุณกำลังทำธุรกรรมทางตู้เอทีเอ็ม ถ้าหากมีใครพยายามจะชวนคุยหรือขอความช่วยเหลือใด ๆ ควรเก็บบัตรเอทีเอ็มให้มิดชิดทันทีแล้วเดินออกจากจุดนั้นให้เร็วที่สุด หรือในกรณีที่คุณกำลังทำการกดรหัสเลขเอทีเอ็ม ควรใช้มือปิดหรือบัง เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่อาจยืนมองอยู่ในบริเวณนั้นจดจำเลขบัตรและรหัสกดเลขเอทีเอ็มของคุณ

    6.ตำรวจปลอม

    ตำรวจปลอม เป็นอีกหนึ่งวิธีการล่อลวงนักท่องเที่ยวยอดฮิตที่จะพบได้ตามเมืองท่องเที่ยวใหญ่ ๆ โดยการทำงานของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนท้องถิ่นที่จะทำหน้าที่เสนอให้คุณซื้อสิ่งผิดกฏหมาย อาทิเช่น ยาเสพติด พกขาว ฯลฯ และในขณะที่คุณกำลังตกใจกับกลุ่มคนเหล่านั้น กลุ่มคนที่แต่งกายเลียนแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะทำการแสดงบัตรประจำตัวตำรวจปลอม ขอตรวจสอบพาสปอร์ตและกระเป๋าเงินของคุณ และอาจจะทำการข่มขู่หรือรีดไถเงินของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น ตำรวจปลอมอาจจะทำการสลับพาสปอร์ตหรือธนบัตรในกระเป๋าเงินของคุณ (พาสปอร์ตของชาวต่างชาติสามารถนำไปขายในตลาดมืดได้)
    วิธีการป้องกัน: หลีกเลี่ยงการพกพาสปอร์ตติดตัวเมื่อต้องออกไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ  หรือควรถ่ายเอกสารตัวพาสปอร์ตเก็บไว้ติดตัวแทนการพกเล่มพาสปอร์ตจริง และไม่ควรที่จะส่งกระเป๋าเงินหรือเปิดให้บุคคลอื่น ๆ ค้นกระเป๋าหรือสัมภาระของคุณ หรือถ้าหากบุคคลเหล่านั้นพยายามที่จะขอดูพาสปอร์ตและกระเป๋าเงินของคุณ คุณสามารถขอให้บุคคลเหล่านั้นแสดงบัตรประจำตัวที่เห็นภาพและหน่วยงานอย่างชัดเจน และทำการบอกพวกเขาว่า ขอโทรฯ ยืนยันกับทางสถานีตำรวจก่อน ถึงจะอนุญาตให้ทำการตรวจค้นได้

    7.สลับสินค้า

    กลการล่อลวงการสลับสินค้านั้นมักพบได้บ่อยตามร้านค้าที่จำหน่าย เสื้อผ้า, เสื่อ หรือของโบราณ ตัวอย่างเช่น คุณเจอสินค้าที่ถูกใจภายในร้าน และหลังจากนั้นคุณทำการเสนอราคาหรือต่อราคาจากผู้ขายจนพอใจแล้ว ทางร้านก็นำสินค้านั้นไปเปลี่ยนเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักหรือลวดลายใกล้เคียงแต่ราคาถูกกว่า และห่อหุ้มใส่ถุงช้อปปิ้งหรือกล่องให้เรียบร้อย โดยที่คุณอาจจะชะล่าใจและไม่ได้เปิดถุงดูก่อนว่าสินค้าที่อยู่ในถุงนั้น คือสินค้าชิ้นเดียวกันกับที่คุณต้องการหรือไม่?
    วิธีการป้องกัน: หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าราคาสูงตามร้านค้าทั่วไป ไม่ว่าสินค้าตัวนั้นจะมีโปรโมชั่น หรือราคาชวนให้คุณอยากได้แค่ไหนก็ตาม ควรเลือกซื้อสินค้าตามห้างร้านขนาดใหญ่เท่านั้น และเมื่อทำการซื้อสินค้าทุกครั้ง คุณควรขอตรวจสอบสินค้าก่อนการห่อหุ้มหรือก่อนที่ทางร้านค้าจะใส่ถุงสินค้า เพื่อเป็นการมั่นใจได้ว่า สินค้าที่คุณจะได้รับ นั้นคือสินค้าที่คุณต้องการจริง ๆ

    8.แก๊งค์ขอทาน

    กลลวงที่คุณอาจจะคิดไม่ถึงว่าการทำบุญหรือให้ทานกับคนขอทานซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น เด็ก, คนชรา หรือคนพิการ อาจจะทำให้คุณเสียมากกว่าเดิม เพราะในขณะที่คุณกำลังล้วงหยิบเงินจากกระเป๋าให้กับขอทานเหล่านั้น มิจฉาชีพที่แอบซ่อนหรืออยู่ในระแวกนั้นจะเห็นได้ว่า คุณนำกระเป๋าสตางค์ซ่อนไว้ที่ส่วนไหน ซึ่งพวกเขาอาจจะเดินประกบหรือทำการบอกต่อไปยังแก๊งค์ล้วงกระเป๋า ให้ทำการลงมือล้วงกระเป๋าหรือรูดซิป หยิบของมีค่าของคุณก็เป็นได้
    วิธีการป้องกัน: ควรหลีกเลี่ยงการให้เงินแก่ขอทานตามสถานที่ท่องเที่ยว หรือคุณอาจจะซื้อเป็นอาหารหรือขนมให้แทน 

    9.สาวสวยชวนเที่ยว

    กลลวงที่นักท่องเที่ยวต้องระวัง
    cr. Freepik
    สำหรับนักท่องเที่ยวสาว ๆ ข้อนี้อาจจะไม่ค่อยต้องระวังมากเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณเป็นนักท่องเที่ยวหนุ่มโสด แบกเป้ เดินเที่ยวคนเดียวหรือกับกลุ่มเพื่อนหนุ่ม ๆ ในยุโรป โดยเฉพาะเมืองบูดาเปสต์หรือปราก คุณอาจจะต้องระวังตัวให้มากขึ้น เพราะคุณอาจจะเจอกับสาวสวยที่เข้ามาทักทาย พูดคุยอย่างเป็นมิตร หรือสอบถามเส้นทางเป็นภาษาอังกฤษ (ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น) แนะนำร้านอาหารของคนท้องถิ่นให้คุณได้ไปลอง
    โดยกลลวงส่วนใหญ่ที่นักท่องเที่ยวหนุ่ม ๆ มักจะเจอนั้นก็คือ ชวนไปเดทตามร้านอาหารหรือบาร์สุดหรู ซึ่งสาวสวยเหล่านั้น จะสั่งอาหารและเครื่องดื่มมาร่วมทานกับคุณ ซักพักก็จะหายตัวไป ทิ้งให้คุณต้องจ่ายบิลอาหารและเครื่องดื่มราคาแพงหูฉี่คนเดียว
    วิธีการป้องกัน: หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับหญิงสาวแปลกหน้าหรือนัดเจอคนแปลกหน้าตามแอพพลิเคชั่นหาคู่ ควรปฏิเสธให้หนักแน่นและไม่ควรไปนัดเจอกับคนแปลกหน้าตามร้านอาหาร บาร์ หรือไนท์คลับ 

    10.แจก (ไม่) ฟรี

    กลลวงนักท่องเที่ยวที่พบเจอได้ทั่วโลกส่วนใหญ่นั้นก็คือ การแจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับคุณ และเดินตามเก็บเงินคุณที่หลัง ซึ่งในกลุ่มประเทศยุโรปนั้น สิ่งของยอดฮิตที่เหล่านักต้มตุ๋นพวกนี้จะทำการแจกให้คุณนั่นก็คือ สาย/ด้ายผูกข้อมือ หรือ Friendship Bracelet ซึ่งจะมีกลุ่มคนยืนแจกตามท้องถนน เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และหลังจากเมื่อคุณเผลอหยิบรับของแจกแล้ว พวกเขาจะเดินตามมาและเก็บเงินจากคุณในภายหลัง
    วิธีการป้องกัน: หลีกเลี่ยงการรับของแจกจากคนแปลกหน้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักเรียนหรือแม้แต่เด็ก เพราะถึงแม้ว่าคุณจะยื่นกลับให้ หรือทำการปฎิเสธทันทีหลังจากที่รับของแจกมาแล้ว พวกเขาก็ยังคงแสดงความไม่พอใจ และรุมทึ้งจนกว่าคุณจะจ่ายเงินให้พวกเขา และในขณะที่คุณกำลังโวยวายอยู่นั้น อย่าลืมระมัดระวังผู้ไม่ประสงค์ดีที่พยายามเข้ามารุมล้อมหรือใกล้ชิดคุณ ซึ่งเขาอาจจะใช้โอกาสนี้ ในการล้วงกระเป๋า หรือเปิดซิป หยิบของมีค่าของคุณก็เป็นได้

    เที่ยวยุโรปให้อุ่นใจและประหยัดกับ Klook

    ส่วนลด Klook
    ให้ทริปท่องเที่ยวในยุโรปของคุณอุ่นใจด้วยบริการพิเศษที่ให้อำนวยความสะดวกให้คุณเดินทางด้วยบริการรับส่งส่วนตัวจากสนามบินปารีสไปยังที่พักของคุณ  หมดกังวลเรื่องการเดินทางด้วยรถไฟใต้ดิน แหล่งรวมมิจฉาชีพที่เยอะที่สุดไปได้เลย ให้คุณช้อปปิ้งได้อย่างสบายใจ พร้อมเดินทางที่ที่พักหรือสนามบินได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล

    บทความอื่น ๆ ที่คุณไม่ควรพลาด